วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


ส่วนที่ 4
ผลการศึกษา
                           รายงานเชิงวิชาการเรื่องภัยแล้ง ภัยร้าย คณะผู้จัดทำได้ผลการศึกษาดังนี้ ปัญหาภัยแล้งเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติรูปแบบหนึ่งซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทั้งทางตรงและทางอ้อมซึ่งความสูญเสียจะขยายวงกว้างไปถึงระดับประเทศในที่สุดอีกทั้งยังเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำในประเทศไทยเราและจะมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆการเกิดภัยแล้งก็มีการแยกย่อยเป็นประเภทเช่น ภัยแล้งเชิงอุตุนิยมวิทยา  ภัยแล้งเชิงเกษตรกรรม   ภัยแล้งเชิงอุทกวิทยา   ภัยแล้งเชิงเศรษฐกิจและสังคม  ซึ่งสาเหตุหลักๆของการเกิดภัยแล้งก็มีอยู่ 2 ปัจจัยได้แก่ เกิดจากน้ำมือมนุษย์ และจากภัยธรรมชาติและก็มีปัจจัยอื่นๆอีกหลายปัจจัยซึ่งส่งผลทำให้เกิดภัยแล้ง ผลกระทบของปัญหาภัยแล้งมีผลกระทบโดยตรงกับการเกษตรและแหล่งน้ำเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ภัยแล้งจึงส่งผลเสียหายต่อกิจกรรมทางการเกษตรเช่น พื้นดินขาดความชุ่มชื้น  พืชขาดน้ำ รวมถึงผลกระทบต่อด้าน เศรษฐกิจเกิดการสิ้นเปลืองและสูญเสียด้านผลผลิต   ด้านสิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบต่อสัตว์ต่างๆทำให้ขาดแคลนน้ำเกิดโรคกับสัตว์สูญเสียความหลาหลายทางชีวภาพรวมถึงผลกระทบด้านอุทกวิทยาทำให้ระดับและปริมาณของน้ำลดลง ด้านสังคมเกิดผลกระทบในด้านสุขอนามัยเกิดความขัดแย้งในการใช้น้ำและประสิทธิภาพในการจัดการน้ำลดลงมีผลกระทบต่อด้านการดำรงชีวิตของประชาชนมีการขาดแคลนน้ำบริโภครัฐยังต้องเสียงบประมาณในการให้ความช่วยเหลือเป็นจำนวนสูงอีกทั้งยังมีภัยซ้ำซ้อนที่เกิดจากภัยแล้งเช่นการเกิดไฟป่าขึ้น มีลักษณะของอากาศแปรปรวน แนวทางการป้องกันแก้ไขเกี่ยวกับปัญหาภัยแล้งควรมีการอนุรักษ์แหล่งน้ำมีการวางแผนส่งเสริมการใช้แหล่งน้ำมีระบบการจัดการน้ำที่ดีมีการสร้างจิตสำนึกไปในตัวรวมถึงมีมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น