วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


ส่วนที่ 5
สรุปและอภิปรายผล
            รายงานเชิงวิชาการเรื่อง ภัยแล้ง ภัยร้ายคณะผู้จัดทำขออภิปรายผลดังนี้  ปัญหาภัยแล้งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและมีความรุนแรงมากขึ้นซึ่งประเทศไทยก็ประสบปัญหานี้อยู่สำหรับการเกิดปัญหาภัยแล้งก็มีการแบ่งเป็นประเภทเพื่อให้เข้าใจได้อย่างชัดเจนการเกิดปัญหาภัยแล้งในประเทศไทยก็มีช่วงของการเกิดซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องจนถึงฤดูร้อนและช่วงฤดูฝนในการเกิดภัยแล้งมีสาเหตุหลักๆคือ 1.จากธรรมชาติเช่นการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมโดยเกิดจากฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ตกน้อย ทำให้มีน้ำเก็บกักในแหล่งน้ำน้อยทำให้น้ำระเหยไปหมดเร็วและเหือดแห้งไปหมดรวมถึงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น 2.จากน้ำมือของมนุษย์ซึ่งมีส่วนสำคัญมากที่สุดเช่น มนุษย์มีความต้องการใช้น้ำเพิ่มมากขึ้นเพราะน้ำเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตรวมทั้งต้องการน้ำในการทำกิจกรรมต่างๆมนุษย์ขาดการจัดการน้ำจึงทำให้เกิดภัยแล้งการตัดไม้ทำลายป่าของมนุษย์ก็มีส่วนเพราะทำให้ไม่มีต้นไม้ที่ทำหน้าที่ดูดซับน้ำฝนลงสู่ใต้ผิวดินอ้มน้ำเอาไว้และยึดดินให้มีความมั่นคงก็จะขาดแคลนน้ำทำให้เกิดความแห้งแล้ง การบริหารจัดการน้ำเกิดความผิดพลาดในการพร่องน้ำระบายน้ำทำให้มีน้ำเหลือเก็บกักไว้น้อย และที่สำคัญมนุษย์ขาดจิตสำนึกในการใช้น้ำและการอนุรักษ์น้ำเช่น ใช้น้ำไม่ประหยัด ใช้น้ำอย่างไม่ถูกต้องเหมาะสม การบุกรุกทำลายแหล่งน้ำ ผลกระทบที่เกิดขึ้นที่ตามมาคือ 1.ด้านเศรษฐกิจทำให้สิ้นเปลืองและสูญเสียผลผลิตด้านการเกษตรเกิดการว่างงานสูญเสียอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 2.ด้านสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อสัตว์ต่างๆทำให้ขาดแคลนน้ำเกิดโรคกับสัตว์สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพรวมถึงผลกระทบด้านอุทกวิทยาทำให้ระดับและปริมาณน้ำลดลง 3. ด้านสังคมเกิดผลกระทบในด้านสุขอนามัยเกิดความขัดแย้งในการใช้น้ำและการจัดการคูภาพชีวิตลดลงผลกระทบกับการดำรงชีวิตของประชาชนทำให้ขาดแคลนน้ำอุปโภคและบริโภค ผลผลิตทางการเกษตรลดลงทำให้รายได้น้อยลงไปด้วย รัฐต้องสูญเสียงบประมาณในการช่วยเหลือ ประชาชนไม่มีงานทำเกิดการว่างงานรวมทั้งภัยซ้ำซ้อนที่ตามมาเช่น การเกิดไฟป่า  ลักษณะของอากาศแปรปรวนเนื่องมาจากอากาศร้อนจัดติดต่อกันหลายวันแนวทางในการป้องกันแก้ไขเกี่ยวกับปัญหาภัยแล้งคือการอนุรักษ์แหล่งน้ำ โดยให้มีการศึกษาวางแผนการจัดการแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่นโครงการผันน้ำ โครงการเขื่อนกักเก็บน้ำใต้ดิน  มีการกำหนดมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่โดยให้มีการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้  ส่งสริมให้มีการปลูกต้นไม้ร่วมกันโดยเริ่มตั้งแต่ระดับครัวเรือนขึ้นไปมีการอนุรักษ์และดูแลธรรมชาติและที่สำคัญควรสร้างจิตสำนึกที่ดีให้เกิดขึ้นกับตนเองมีวินัยรวมทั้งคุณธรรมและจริยธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น